ขายฝากบ้าน คืออะไร ต่างจากการจำนองยังไง เหมือนการฝากขายหรือไม่? 

iLand Solaire  > Real Estate >  ขายฝากบ้าน คืออะไร ต่างจากการจำนองยังไง เหมือนการฝากขายหรือไม่? 
0 Comments
ขายฝากบ้าน

หากได้ลองค้นหาคำว่าขายฝากบ้านเชื่อเถอะว่าต้องมีคำว่าจำนองหรือไม่ก็ฝากขายขึ้นมาด้วย จนทำให้ใครหลาย ๆ คนเกิดความสงสัยว่าเหมือนกันหรือไม่? แตกต่างกันอย่างไร? ไม่ต้องกังวลเราจะพาไปดูความแตกต่างเทียบกันแบบ Shot ต่อ Shot ระหว่างขายฝากกับจำนองและขายฝากกับฝากขายจะเป็นยังไงไปดู 

ขายฝากบ้าน คืออะไร 

ขายฝากบ้าน คือ การทำสัญญาระหว่างเจ้าหนี้ (ผู้รับซื้อฝาก) และลูกหนี้ (ตัวเรา) ที่ต้องการขายฝากบ้าน โดยเราจะได้รับเงินสดแลกกับการนำบ้านไปใช้เป็นหลักประกัน ส่วนการไถ่ถอนจะขึ้นอยู่กับการทำข้อตกลงระหว่างเรากับผู้รับซื้อฝากว่าจะชำระภายในระยะเวลาเท่าไหร่? ต้องจ่ายดอกเบี้ยมากน้อยแค่ไหน? (ระยะเวลาการไถ่ถอนสามารถขยายได้นานสุด 10 ปี กรณีเป็นอสังหาริมทรัพย์ 3 ปี กรณีเป็นสังหาริมทรัพย์) 

การขายฝากกับการฝากขายต่างกันยังไง 

สำหรับการขายฝากบ้านและการฝากขาย 2 คำนี้มีความหมายต่างกันค่อนข้างมาก เรียกได้ว่าแทบไม่มีความเกี่ยวข้องอะไรกันเลย เพราะการขายฝากคือ การดำเนินการระหว่างเจ้าหนี้และลูกหนี้ แต่การฝากขายคือ การดำเนินการระหว่างนายหน้ากับผู้ว่าจ้าง 

ขายฝาก vs จำนองต่างกันยังไง? 

สำหรับความแตกต่างระหว่างขายฝากบ้านกับจำนองบ้านมีรายละเอียด ดังนี้ 

วงเงินขั้นต่ำสูงสุด  

  • กรณีขายฝาก: ต่ำสุด 40% สูงสุด 70% จากราคาประเมิน 
  • กรณีจำนอง: ต่ำสุด 10% สูงสุด 30% จากราคาประเมิน 

การค้ำประกัน  

  • กรณีขายฝาก: จำเป็นต้องมีหลักทรัพย์นั้น ๆ ค้ำประกันและมอบให้กับผู้รับซื้อฝากทันทีหลังจากเซ็นสัญญา  
  • กรณีจำนอง: ไม่จำเป็นต้องมอบทรัพย์สินหรือกรรมสิทธิ์  

ระยะเวลาการไถ่ถอน  

  • กรณีการขายฝาก: มีข้อกำหนดชัดเจนแม้มีความยืดหยุ่นแต่ก็มีขอบเขต  
  • กรณีจำนอง: มีความยืดหยุ่นค่อนข้างสูงไม่มีการกำหนดตายตัวว่าต้องชำระภายในกี่ปีหรือกี่เดือน เพราะเงื่อนไขต้องชำระจนกว่าจะครบยอดที่กำหนด  

ค่าธรรมเนียม  

  • กรณีขายฝาก: มีค่าธรรมเนียมหลายอย่างเข้ามาเกี่ยวข้อง เช่น ค่าอากรแสตมป์ 0.5% (ของราคาประเมินหรือราคาขายฝาก), ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย, ภาษีธุรกิจเฉพาะ 3.3% (ของราคาประมาณหรือราคาขายฝาก) และค่าธรรมเนียมการดำเนินการ 2% (ของราคาประเมิน)  
  • กรณีจำนอง: ต้องจ่ายค่าธรรมเนียม 1% ของวงเงินจำนอง 

สิทธิ์ในการใช้ทรัพย์สิน  

  • กรณีขายฝาก: เราไม่มีสิทธิ์หรือมีสิทธิ์ในการใช้ประโยชน์ในทรัพย์สินนั้น ๆ จนกว่าจะไถ่ถอนได้หรือไม่ ขึ้นอยู่กับข้อเสนอของแต่ละบริษัทอีกที)  
  • กรณีจำนอง: เรามีสิทธิ์ใช้ประโยชน์จากทรัพย์สินต่อไปได้ 

สรุปได้ว่าการขายฝากบ้านเป็นการดำเนินการระหว่างเจ้าหนี้และลูกหนี้ โดยเราที่ทำหน้าที่ขายฝากจะได้รับผลตอบแทนในรูปแบบของเงินสด แต่ต้องจ่ายดอกเบี้ยทุก ๆ เดือน ส่วนผู้รับซื้อฝากจะมีกรรมสิทธิ์ในอสังหาฯ หรือสินทรัพย์ที่เราใช้ค้ำประกัน ซึ่งเราสามารถไถ่ถอนกลับคืนมาได้ตามระยะเวลาที่กำหนดนั่นเอง